วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดประสบการณ์การ

หน่วยลูกโป่ง
วันที่ 1
เรื่อง ลักษณะของลูกโป่ง
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กบอก สี รูปร่าง และลักษณะของลูกโป่ง
เนื้อหาสาระสำคัญ
1.สี รูปร่าง เสียงและลักษณะของลูกโป่ง
ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสังเกตและบอกลักษณะของลูกโป่งได้
ขั้นนำ
1.ครูนำลูกโป่งมากำไว้ในมือ โดยไม่ให้เด็กเห็น แล้วดีดให้เกิดเสียง ให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร
2.ครูค่อยๆดึงส่วนต่างๆของลูกโป่งออกมาให้เด็กทายว่าคืออะไร
ขั้นสอน
1.ใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับลูกโป่ง เช่น ส่วนประกอบของลูกโป่งมีอะไรบ้าง โดยเฉลยให้เห็นลูกโป่งบนกระดาน
2.ติดรูปทรงลูกโป่ง 3 ชนิด 3 สี แล้วถามว่าใครชอบรูปทรงไหนบ้าง โดยจัดลำดับมาก-น้อย
3.สรุปว่ารูปทรงและสีไหนที่เด็กชอบมากที่สุดและชอบน้อยที่สุด
ขั้นสรุป
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาซักถามถึง สี รูปร่างและลักษณะของลูกโป่งที่เด็กรู้จัก โดยใช้คำถามนำดังนี้”เด็กๆรู้จักลูกโป่งรูปร่างใดบ้างค่ะ”
สื่อ
1.ลูกโป่ง
การวัดและประเมินผล
1.สังเกตการเรียนรู้ทางด้าน สี รูปร่างและเสียง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขอบข่ายคณิตศาสตร์

หน่วยลูกโป่ง
1.การนับ
-ให้เด็กนับลูกโป่งในตะกร้า
-ให้เด็กนับลูกโป่งที่มีลักษณะกลม และมีสีแดง
2.ตัวเลข
- ให้เด็กนำตัวเลขมาวางให้ตรงกับจำนวนลูกโป่ง
3.การจับคู่
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีขนาด เท่ากัน
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน
4.การจัดประเภท
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีสีเหมือนกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของลูกโป่ง เล็ก- ใหญ่
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีรูปทรงต่างกัน
5.การเปรียบเทียบ
- ให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่ง
- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ( โดยใส่น้ำไม่เท่ากัน)
6.การจัดลำดับ
- ให้เด็กเรียงลำดับขนาดลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุด
- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุด
- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่น้ำหนักมากสุดไปหาลูกโป่งที่มีน้ำหนักน้อยสุด
7.รูปทรงและเนื้อที่
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่ลักษณะกลม - ยาว
8.การวัด
- ให้เด็กวัดเส้นรอบลูกโป่ง ว่าแต่ละลูกมีขนาดเท่าใด
- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งลูกไหนหนัก ลูกไหนเบากว่ากัน
9.เซต
- ครูบอกเด็กว่าลูกโป่งที่มีน้ำหนักได้นั้น เพราะใส่น้ำและแป้งเข้าไป
แล้วให้เด็กแยกลูกโงที่ใส่น้ำและใส่แป้งออกจากกัน
10.เศษส่วน
- เลือกเด็กมา 3 คน ให้ลูกโป่ง 9 ลูก โดยให้เด็กแบ่งให้เท่าๆ กัน
11.การทำตามแบบ หรือลวดลาย
- ให้เด็กเป่าลมใส่ลูกโป่งให้มีขนาดเท่ากับที่ครูเลือกมา
12.การอนุรักษ์
- ถามเด็กว่าลูกโป่งที่เป่าแล้วกับลูกที่ยังไม่เป่า(โดยนำลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน) มีความจุน้ำได้เท่ากันหรือเปล่า

ขอบข่ายคณิตศาสตร์หน่วยลูกโป่ง

ครั้งที่1




ครั้งที่2

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

...นิทานเรื่อง ฟัน ห้าซี่ ของอิ๊กอิ๊ก...

น้องอิ๊กอิ๊ก มีพี่สาว 2 คน ชื่อว่า อิงอิง กับ เอิงเอย
ทั้งสามคนชอบไปหาลุงใจดีที่มีบ้านทำด้วยขนม
เพราะลุงใจดีจะให้เด็กๆช่วยกันทำขนมอย่างสนุกสนาน
อิงอิงและเอิงเอยกลับจากบ้านลุงใจดีจะชวนกันไปแปรงฟันก่อนเข้านอน
แต่..น้องอิ๊กอิ๊กไม่เคยที่แปรงฟันเหมือนพี่ๆ
เพราะกลัวว่าขนมที่ทานไปความอร่อยจะหายไปกับการแปรงฟัน
จนวันนึง..น้องอิ๊กอิ๊กปวดฟันมาก พี่ๆจึงพาเธอไปหาลุงใจดีให้ช่วย
ลุงใจดีถามอิ๊กอิ๊กว่า หนูไม่แปรงฟันเลยหรือไง ดูพี่ๆของหนูสิ
ทั้งสองมีฟัน 5 ซี่ ทั้งขาวและสะอาด เพราะเขาแปรงฟัน
น้องอิ๊กอิ๊กอยากมีฟัน 5 ซี่ เหมือนพี่ๆไหมล่ะ หรืออยากให้ฝันหักไปที่ละซี่
ดูสิว่าฟันของน้องอิ๊กอิ๊กมีกี่ซี่ 1,2,3,4 อืม
เอ๊ะ นี้อีกซี่กำลังจะงอกออกมา น้องอิ๊กอิ๊กจ๊ะ ถ้าหนูไม่อยากปวดฟัน และอยากมีฟันขาวสวย
หนูต้องจำไว้น่ะว่าหลังจากที่ทานขนมก่อนนอนต้องแปรงฟันทุกครั้งน่ะจ๊ะเด็กดี
ค่ะ น้องอิ๊กอิ๊กสัญญา..น้องจะดูแลรักษาฟันให้ขาว สวย แข็งแรง ให้ครบ 5 ซี่ เหมือนพี่ๆค่ะ
....จากนั้นเป็นต้นมาทั้งสามคนก็ไปหาลุงใจดีทุกวันและก่อนนอนก็ชวนกันแปรงฟันทุกครั้ง
ทั้งสามคนจึงมีฟัน 5 ซี่ ที่สวยงาม ขาว แข็งแรงตอลอดไป

มีเพลงมาฝาก (แต่งเองค่ะ)

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ลูกเป็ดตัวเล็ก ตัวใหญ่ พากันออกหากิน
ลูกไก่กำลังหัดบิน ลูกเป็ดไม่ชินอยากบินเหมือนไก่
...( งงมั้ยเนี้ยะ )

สวัสดีปีใหม่ 2009

.......สวัสดีปีใหม่อาจารย์ที่เคารพรัก
และขอสวัสดีปีใหม่เพื่อนๆทุกคนคะ

บันทึกหลังเรียน 18 ธ.ค. 2551

....วันนี้ทบทวนเกี่ยวกับการไปสังเกตการณ์แต่ละโรงเรียน
เมื่อวันที่ 1-10 ธ.ค.2551
ยกตัวอย่าง ร.ร.สาธิตอนุบาลจันเกษม
เรื่อง การลงชื่อมาเรียนตอนเช้าของเด็ก โดยเด็กจะลงชื่อตัวเอง
ลงเวลาจากเข็มนาฬิกาและลำดับที่ที่ตนเองมา
คณิตศาสตร์อยู่รอบตัวเรา

เนื้อหาที่เข้าใจวันนี้
ครูประถมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก
และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้วยังจะต้อง...
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนที่ดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์เพื่อใชในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมจากเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเพียงอย่างเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
......การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์นั้น
จะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกประเภทแล้ว
เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

บันทึกหลังเรียน 27 พ.ย. 2551

บรรยากาศในห้เรียน
....เพื่อนมาเรียนกันตั้งแต่เช้าบางคนก็มาเรียนตอนสาย ซึ้งจะไม่ได้เรียนด้วยกันพอมาเจอกันทุกคนในคาบนี้จึงมีเรื่องคุยกันกระจาย
อากาศในห้องก็ดี สบายๆ ได้นั่งโต๊ะที่คอมพิวเตอร์เสีย เลยได้แต่นั่งฟังอาจารย์บรรยาย

รายละเอียดที่เข้าใจในวันนี้
...ลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลต่อไปนี้
- เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาฑุดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
- แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
- เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
- เปิดให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจ ปฎิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง