วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขอบข่ายคณิตศาสตร์

หน่วยลูกโป่ง
1.การนับ
-ให้เด็กนับลูกโป่งในตะกร้า
-ให้เด็กนับลูกโป่งที่มีลักษณะกลม และมีสีแดง
2.ตัวเลข
- ให้เด็กนำตัวเลขมาวางให้ตรงกับจำนวนลูกโป่ง
3.การจับคู่
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีขนาด เท่ากัน
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน
4.การจัดประเภท
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีสีเหมือนกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของลูกโป่ง เล็ก- ใหญ่
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีรูปทรงต่างกัน
5.การเปรียบเทียบ
- ให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่ง
- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ( โดยใส่น้ำไม่เท่ากัน)
6.การจัดลำดับ
- ให้เด็กเรียงลำดับขนาดลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุด
- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุด
- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่น้ำหนักมากสุดไปหาลูกโป่งที่มีน้ำหนักน้อยสุด
7.รูปทรงและเนื้อที่
- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่ลักษณะกลม - ยาว
8.การวัด
- ให้เด็กวัดเส้นรอบลูกโป่ง ว่าแต่ละลูกมีขนาดเท่าใด
- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งลูกไหนหนัก ลูกไหนเบากว่ากัน
9.เซต
- ครูบอกเด็กว่าลูกโป่งที่มีน้ำหนักได้นั้น เพราะใส่น้ำและแป้งเข้าไป
แล้วให้เด็กแยกลูกโงที่ใส่น้ำและใส่แป้งออกจากกัน
10.เศษส่วน
- เลือกเด็กมา 3 คน ให้ลูกโป่ง 9 ลูก โดยให้เด็กแบ่งให้เท่าๆ กัน
11.การทำตามแบบ หรือลวดลาย
- ให้เด็กเป่าลมใส่ลูกโป่งให้มีขนาดเท่ากับที่ครูเลือกมา
12.การอนุรักษ์
- ถามเด็กว่าลูกโป่งที่เป่าแล้วกับลูกที่ยังไม่เป่า(โดยนำลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน) มีความจุน้ำได้เท่ากันหรือเปล่า

ขอบข่ายคณิตศาสตร์หน่วยลูกโป่ง

ครั้งที่1




ครั้งที่2